ศัลกรรมตกแต่งลำตัว
หน้าท้องหย่อนยาน ย้วย ไม่กระชับ แก้ไขได้โดยการศัลยกรรมตัดผิวหนังหน้าท้องส่วนเกินออก และเย็บกล้ามเนื้อบริเวณหนังหน้าท้องให้คืนกระชับ เพื่อทำให้ กล้ามเนื้อและผิวที่หย่อนคล้อยมีสภาพใกล้เคียงลักษณะเดิม มีทรวดทรงองค์เอว และหุ่นที่เฟิร์ม กระชับขึ้น
เทคนิคที่ 1 การผ่าตัดแบบย่อ (MINI LIPECTOMY)
เป็นการผ่าตัดเน้นกระชับเฉพาะส่วนล่าง ต่ำกว่าสะดือ ใช้ได้ดีในผู้ที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน หรือหย่อนเนื่องจากการลดความอ้วน มีเฉพาะผิวหนังและไขมันที่ต้องตัดออก รอยแผลผ่าตัดจะสั้นกว่าแบบเต็ม ไม่ต้องตกแต่งสะดือให้ใหม่ ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง วิธีนี้ถ้าใช้กับผู้ที่มีพังผืดระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องยืดยานจะทำให้ กระชับได้เฉพาะส่วนล่างของท้อง ส่วนบนบริเวณลิ้นปี่จะยังป่องๆ อยู่ ทำให้ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับผู้ที่มีหน้าท้องส่วนบนหย่อนด้วย การผ่าตัดแบบนี้อาจทำโดยการดมยาสลบหรือฉีดยาชาได้
เทคนิคที่ 2 การผ่าตัดแบบเต็ม (FULL LIPECTOMY)
เป็นการแก้ปัญหาหน้าท้องหย่อนหรือลายทั้งหมด ผู้ที่เคยตั้งครรภ์มักต้องใช้วิธีนี้จึงจะได้ผลดี รอยแผลผ่าตัดเหนือหัวเหน่าจะยาวกว่าแบบย่อ และต้องตกแต่งสะดือให้ โดยการย้ายตำแหน่งสะดือใหม่ เนื่องจากผิวหนังเดิมที่อยู่เหนือสะดือจะถูกดึงข้ามสะดือมาที่หัวเหน่า โดยที่ผิวหนังระหว่างสะดือถึงหัวหน่าวจะถูกตัดออกทั้งหมด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง โดยเทคนิคนี้ รูปร่างของหน้าท้องจะดีขึ้นมาก เนื่องจากสามารถตัดผิวหนังออกได้มาก
เทคนิคที่ 3 การผ่าตัดแบบกลาง ( MODIFIED LIPECTOMY)
เป็นวิธีการผ่าตัดในผู้ที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดไขมันแบบเติม (Full Lipectomy) ได้ เหมาะกับผู้ที่มีผิวหนังหย่อนไม่มาก และผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือเริ่มมีการหย่อนบ้างและกล้ามเนื้อบริเวณเหนือ สะดือเริ่มหย่อนมากขึ้น ควรต้องเย็บให้กล้ามเนื้อตึงมากขึ้น หรือมีแผลเป็นบริเวณหน้าท้องที่ไม่ สามารถทำให้ดึงหน้าท้องตึงมากได้
วิธีนี้จะทำการผ่าตัดโดยตัดผิวหนังมากกว่า การผ่าตัดไขมันแบบย่อ โดยที่สามารถเย็บกระชับกล้ามเย็บส่วนบนและ มีการย้ายสะดือลงล่างเล็กน้อยโดยที่จะไม่มีแผลเป็นรอบๆ สะดือ แต่สามารถตัดผิวหนังใต้สะดือได้มากขึ้น
เทคนิคที่ 4 การตัดไขมันหน้าท้องร่วมกับการดูดไขมัน
(SUCTION ASSISTED LIPECTOMY AND FULL LIPECTOMY)
การผ่าตัดไขมัน ร่วมกับการดูดไขมัน อาจทำได้ทั้งการตัดไขมันแบบย่อหรือการตัดไขมันแบบเต็ม โดยก่อนการเย็บปิดแผลอาจทำการดูดไขมัน บริเวณด้านข้างเพิ่ม
เหมาะสำหรับคนที่มีไขมันด้านข้างอยู่มาก โดยการดูดไขมัน บางส่วนพร้อมกับการตัดไขมันจะไม่มีแผลเป็นเพิ่ม เนื่องจากดูดผ่านแผลผ่าตัดได้เลย
เทคนิคที่ 5 การตัดไขมันร่วมกับการเสริมหน้าอก
(LIPECTOMY WITH AUGMENTATION MAMMO PLASTY)
ในผู้ที่ต้องการเสริมหน้าอกร่วมกับการตัดไขมัน สามารถทำการเสริมหน้าอกโดยผ่านแผลผ่าตัดไขมันได้ เทคนิคดังกล่าว ไม่แนะนำให้ทำในผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหนามากการตรวจก่อนการผ่าตัด
ในวันที่ทำการปรึกษาแพทย์ มักต้องทำการตรวจร่างกายโดยตรวจต้องทำในท่ายืนดูความหนาของชั้นไขมันที่หน้า ท้องและทดสอบความตึงของผิวหนัง โดยทั่วไปผู้ที่เหมาะสมมากกับการผ่าตัดคือคนที่มีการหย่อนยานหรือมีการแตก ลายของหน้าท้องส่วนล่างโดยที่ไม่มีชั้นไขมันหนามาก เพราะการผ่าตัดไขมันหน้าท้องจะช่วยให้หน้าท้องตึงมากและมีเอวเล็กลงทำให้สัด ส่วนดีขึ้นมากแต่ไม่ช่วยลดชั้นไขมันลงมาก การตรวจก่อนการผ่าตัด มักต้องดูรายละเอียดดังนี้
1. การหย่อนยานของผนังหน้าท้องส่วนล่าง
ถ้ามีผิวหนังมากและมีการหย่อนยานมาก การผ่าตัดจะช่วยให้ตึงได้มาก การวัดดูความตึงต้องลองกำหนดว่าสามารถจะตัดผิวหนังได้โดยปลอดภัยหรือไม่โดย การลองดึงผิวหนังเข้าหากันในท่างอตัว ถ้าไม่สามารถดึงได้ถึงกันอาจต้องระมัดระวังไม่ตัดมากเกินไป
การลองดึงผิวหนังแบบนี้จะสามารถกำหนดความตึงได้ เฉพาะคนไข้ปกติ แต่ในรายที่
1. มีไขมันหนามาก
2. เป็นเบาหวาน
3. สูบบุหรี่
คงต้องระมัดระวังไม่ควรดึงผิวหนังให้ตึงเกินไป เพราะในกลุ่มที่ A – C นี้ ความเสี่ยงของการหายของแผล คือมีโอกาสที่แผลแยกหรือติดเชื้อได้ง่าย
2. การหย่อนยานของด้านบนของท้อง
หลังการผ่าตัดผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือจะถูกดึงมา ไว้ที่หัวเหน่า ถ้าผิวหนังบริเวณเหนือสะดือมีลายแตก ส่วนที่แตกลายก็จะถูกย้ายมาไว้ที่เหนือหัวเหน่า ในกรณีที่ผ่าตัดแบบเต็มถ้าผิวหนัง ด้านบนหย่อนยานมากและมีกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนมาก อาจต้องตัดผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือออกมากกว่าปกติด้วย
3. ความหย่อนยานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ในบางคนผิวหนังไม่ได้หย่อนยานมากแต่การที่ผนังท้องโต เกิดจากการหย่อนมากของกล้ามเนื้อ การผ่าตัดไขมันหน้าท้องจะมีการเย็บกระชับกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย ช่วยให้ลดการหย่อนของผนังกล้ามเนื้อในกรณีที่มีการหย่อนมากจะต้องเย็บให้ ผนังหน้าท้องตึงมากอย่างไรก็ตามการกระชับผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องจะต้องระมัด ระวังในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ
4. การดูดไขมัน
โดยทั่วไปในคนที่มีไขมันหนามากมักมีรอยนูนด้านข้างลำตัวหลังการตัดไขมันซึ่ง เกิดจากไขมันด้านข้างที่ยังหนาอาจต้องทำการดูดไขมันร่วมด้วยเพื่อช่วยให้รูป ร่างดูดีขึ้น สำหรับไขมันบริเวณด้านบนของ หน้าท้อง ถ้าจะดูดไขมันเพื่อลดความหนาของผิวหนังอาจต้องระมัดระวังในบางคนเพราะเป็น ทางที่เส้นเลือดมาเลี้ยงผิวหนังด้านล่าง
5. แผลผ่าตัดเดิม
แผลหน้าท้องทั้งหมดต้องพิจารณาประกอบกับเทคนิคการผ่าตัดอาจทำให้แผลย้ำตัดมี ปัญหาถ้าดูดมาก แผลผ่าตัดเดิมมีผลมากๆ ต้องการตัดสินใจตัดไขมันหน้าท้องโดยทั่วไป
การปรึกษาก่อนผ่าตัด
1. ปริมาณไขมันที่ต้องการตัด
2. ต้องการดูดไขมันด้วยหรือไม่
3. เลือกเทคนิคที่จะใช้ในการผ่าตัด ความเหมาะสม
4. ลักษณะของสะดือที่ต้องการ
5. ปรึกษาแพทย์ถึงขนาดและความยาวของแผลเป็น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
1. งด ยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
2. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 10 – 14 วัน
3. ตรวจเช็คโรคประจำตัวก่อนผ่าตัด
4. งดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัดประมาณ 6 ชั่วโมง
5. เตรียมโกนขน หรือหน้าท้องหรือหัวเหน่า ก่อนมาโรงพยาบาล
6. ก่อนวันผ่าตัดควรทานอาหาร อ่อน ๆ เนื่องจากหลังผ่าตัดไม่สามารถเดินเข้าห้องน้ำ
เพื่อถ่ายอุจจาระได้
7. อาบน้ำชำระร่างกายก่อนผ่าตัด
8. ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
9. ไม่ควรนำสิ่งของมีค่าติดตัวมาในวันผ่าตัด
10. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือความดันควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนว่าสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
11. เตรียมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อใส่กลับบ้าน
ขั้นตอนการผ่าตัด
1. จะมีแผลผ่าตัดยาวทอดตัวตามแนวขวางซ่อนอยู่บริเวณเหนือหัวเหน่า
2. แพทย์จะเลาะแยกชั้นไขมันออกจากกล้ามเนื้อหน้าท้อง เลาะสูงขึ้นไปถึงลิ้นปี่
3. เย็บกล้ามเนื้อหน้าท้องเข้าหากันเพื่อกระชับสัดส่วนบริเวณเอว
4. ดึงผิวหนังหน้าท้องให้ตึงพอประมาณ แล้วจึงตัดส่วนเกินนั้นทิ้งไป
5. การย้ายสะดืออาจเป็นสิ่งจำเป็นในรายที่ต้องดึงผิวหนังหน้าท้องลงมาได้จำนวนมาก
6. เย็บปิดแผลทีผิวหนัง หลังจากนั้นใส่สายระบายน้ำเหลือง
การดูแลหลังการผ่าตัด
1. หลังผ่าตัด พักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 – 3 วัน
2. หลังผ่าตัดวันที่ 1 – 2 วันให้นอนในท่างอตัวและปัสสาวะโดยผ่านสายสวนบนเตียงโดยแพทย์จะเอาสายสวนปัสสาวะออกประมาณวันที่ 2 หลังผ่าตัด
3. วันที่ 2 ให้เดินงอตัวได้รอบๆเตียงอาจต้องเดินงอตัวประมาณ 1 – 2 อาทิตย์จึงจะยืดตัวตรงได้
4. วันที่ 3 แพทย์จะดึงสายระบายน้ำเหลืองออกสามารถอาบน้ำได้แล้วซับแผลให้แห้ง
5. ในวันที่ 4 ถ้าสามารถเดินได้ก็สามารถกลับบ้านได้
6. เอาผ้าพันแผลออกได้ภายใน 1 – 4 วันและต่อสายดูดเลือดกับน้ำเหลืองทางด้านข้างลำตัวรวมทั้งท่อสวนปัสสาวะและจะเอาออกได้ภายใน 2 – 4 วัน
7. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรกและจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 1 – 2 ปี
8. ระวังอย่าให้แผลเปียกน้ำหลังจากกลับบ้านถ้ายังมีผ้าก๊อสปิดแผลอยู่อย่าดึงผ้าก๊อสออกเอง ยกเว้นแพทย์จะสั่งให้ดึงออกเอง
9. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูกควรรับประทานผัก,ผลไม้และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
10. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะจะทำให้เกิดน้ำเหลืองค้างในแผลผ่าตัดได้
11. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะบุหรี่ทำให้แผลหายช้า
12. ถ้ามีอาการบวมแดงบริเวณแผลผ่าตัดมากกว่าปกติควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
13. นอนในท่าที่ศรีษะสูงและหัวเข่าสูงโดยวางหมอน 2 ใบที่ศรีษะและวางอีก1 ใบไว้ใต้หัวเข่า
14. แผลเป็นอาจนูนได้ อาจช่วยนวดบริเวณแผลผ่าตัด เช้า – เย็นครั้งละประมาณ 10 นาที
15. ควรใส่ชุดชั้นในรัดรูปประมาณ 1 เดือนเพื่อให้ได้รูปร่างที่ดีและลดบวม
16. หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือออกกำลังรุนแรง 6 อาทิตย์
17. ถ้าคันตัวสามารถทาแป้งแก้คันได้แต่ห้ามทาที่แผล
18. รัดผ้ายืดรัดหน้าท้องให้แน่นและจัดอย่าให้มีรอยย่นบนผ้ารัดหน้าท้อง
19. ควรรัดผ้ายืดรัดหน้าท้องไว้อย่างน้อย 6 อาทิตย์
20. รับประทานยาตามแพทย์สั่งไม่ควรทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
21. ถ้าหายปวดควรเริ่มเดินช้าๆเพื่อลดอาการบวม
22. งดยกของหนักเกิน 2 – 5 กิโลเป็นเวลา 6 อาทิตย์
23. งดการออกกำลังกายที่เกรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การซิดอับ, ควรงดออกกำลังกายหนักๆ ประมาณ 6 อาทิตย์
24. สามารถอาบน้ำได้หลังจากเอาสายระบายน้ำเหลืองออก 2 วัน
25. ก่อนการอาบแดดควรทาครีมกันแดดที่มีแพกเตอร์มากกว่า 30
26. งดการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำถ้ายังไม่ได้ตัดไหม
27. รับประทานอาหารได้ตามปกติควรงดอาหารนมทุกชนิด
28. แพทย์จะนัดตัดไหมเมื่อครบกำหนด 10 วันและ 14 วันและให้ปิดแผ่นปิดแผลเป็นประมาณ
4 อาทิตย์
29. หลังการผ่าตัดจะนัดดูแผลที่หน้าท้องทุก 1 เดือนถ้ามีปัญหาเรื่องแผลเป็นนูนในบางครั้งอาจต้องฉีดยารักษาแผลเป็นช่วยได้บางครั้ง
30. ช่วง 3 วันแรกจะบวมสุดๆแต่จะยุบภายใน 2 – 4 อาทิตย์และยุบเต็มที่ภายใน 3 เดือน
31. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรก และจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 1 – 2 ปี